วันเสาร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2551

Jeux olympiques d'été de 2008
Les Jeux olympiques d'été de 2008 (sinogrammes simplifiés : 2008年北京夏季奥运会, sinogrammes traditionnels : 2008年夏季奧林匹克運動會, pinyin : 2008 nián Běijīng Xiàjì Àolínpǐkè Yùndònghuì), connus aussi sous le nom de Jeux de la XXIXe Olympiade, ont lieu à Pékin (Beijing en mandarin) et dans six autres villes chinoises (cf. infra), en République populaire de Chine, du 8 au 24 août 2008.
La
cérémonie d’ouverture de ces Jeux a débuté à 8 heures 08 du soir heure locale (fuseau horaire UTC+8), soit 2008-08-08 20:08:00 (8:08 PM) +08:00, le huit étant un symbole de prospérité et d’infini dans la culture chinoise).
Certaines épreuves se déroulent en dehors de la capitale chinoise : celles de voile se déroulent à
Qingdao, à 690 km de Pékin, des matchs de football ont lieu à Tianjin, Shanghai et Qinhuangdao et les épreuves de sports équestres se tiennent à Hong Kong.
Pékin a été élue parmi cinq villes candidates par le CIO le 13 juillet 2001. Le CIO, sous la présidence de Juan Antonio Samaranch, était favorable à ce que le pays le plus peuplé au monde, accueille les Jeux olympiques — malgré des voix rappelant le problème des droits de l'Homme en Chine.
Les Jeux ont été marqués notamment par les performances exceptionnelles du
nageur Michael Phelps qui a remporté huit médailles d'or, battant le record détenu précédemment par Mark Spitz avec sept médailles d'or lors des Jeux de 1972, et de l'athlète jamaïquain Usain Bolt qui a remporté les 100 m et 200 m en battant à chaque fois le record du monde, respectivement en 9 s 69 et 19 s 30
Sélection de la ville hôte

Le Comité international olympique confie l’organisation des Jeux olympiques d’été de 2008 à la ville de Pékin lors de la 112e session du 13 juillet 2001 à Moscou. Elle devance après le second tour de scrutin les villes de Toronto, Paris et Istanbul. Osaka, cinquième finaliste est éliminée dès le premier tour. Cinq autres villes posèrent leur candidature mais ne furent pas retenues dans la liste finale : Bangkok, Le Caire, La Havane, Kuala Lumpur, et Séville.
La
Chine est désignée pour la première fois pays hôte des Jeux olympiques. En 1993, Pékin avait manqué l'organisation des jeux de l'an 2000, face à Sydney par 43 voix à 45.

Sites des compétitions

Les Jeux de Pékin se déroulent sur 37 sites de compétition parmi lesquels douze sont entièrement nouveaux, onze ont été rénovés, huit sont temporaires et le reste est situé hors de la capitale chinoise (Hong Kong pour l'équitation, Qingdao pour la voile et les différents stades de football). Sur ces sites, se déroulent sur 18 jours de compétition, 302 épreuves dans 28 sports déclinés en 38 disciplines, ce qui représente 623 sessions de compétition en tout. Le 8 juillet 2005, le CIO confirma que les épreuves équestres auraient lieu à Hong Kong, les compétitions nautiques à Qingdao dans la province de Shandong sur la mer Jaune. Des matchs de football se déroulent également à Shanghai, Qinhuangdao, Tianjin et Shenyang.
Les plus grandes œuvres architecturales sont le
Stade national de Pékin ou « nid d'oiseau », et le Centre national de natation ou « cube d'eau », construits côte à côte au sein du Parc olympique. Parmi les autres nouveaux sites figurent le Palais national omnisports, le Palais omnisports de Wukesong, le Vélodrome de Laoshan et le Parc aquatique olympique de Shunyi.
Le village olympique, d'une superficie de 66 hectares, est situé au nord du Parc olympique. Il accueille durant les jeux 17 200 athlètes et officiels. Son ouverture officielle est programmée pour le 27 juillet 2008. Des chantiers d'envergure ont été entrepris dans le domaine des transports. Le métro, les routes et l'
Aéroport de Pékin ont subi des rénovations pour ces Jeux olympiques. Plus de 300 000 maisons ont été démolies et la plupart de leurs habitants relogés aux environs de Pékin pour la préparation des jeux.

Logo

Le logo des Jeux olympiques de Pékin est dévoilé officiellement le 3 août 2003 lors d'une cérémonie au Temple du Ciel organisée par le Comité d'organisation des Jeux de la XXIXe Olympiade de Pékin (abrégé BOCOG pour Beijing Organizing Committee for the Games of the XXIX Olympiad en anglais). En présence de plus de 2000 personnes triées sur le volet, du président de la Commission de coordination du CIO Hein Verbruggen, le président du Comité permanent de l’Assemblée nationale populaire Wu Bangguo a présenté l'emblème de la compétition intitulé Pékin dansant .
Ce logo officiel représente un sceau chinois rouge sur lequel figure le
caractère Jing (, de 北京 / Pékin / Beijing), signifiant capitale, stylisé en homme dansant. Le rouge du sceau, qui rappelle l'héritage historique et politique chinois, est associé aux cinq anneaux multicolores du drapeau olympique, symbole de l'universalisme du mouvement olympique. Au centre figure l'inscription calligraphiée en anglais Beijing 2008 soulignant l'emprise de la langue dans l'univers olympique et la communication.
Dans une vidéo diffusée au cours de la cérémonie, le président du CIO
Jacques Rogge salue cet emblème comme un des symboles les plus importants de l'histoire olympique mais représente également l'espoir de réussite des Jeux de Pékin. En mars 2003, le Comité international olympique avait approuvé le logo officiel proposé par le Comité d'organisation.

Mascotte olympique

Les mascottes officielles des Jeux olympiques d’été de 2008 à Pékin sont les fuwa (福娃 Fúwá - enfant de bonne fortune). Elles ont été présentées le 11 novembre 2005 par la Société nationale des études littéraires classiques chinoises, marquant ainsi le 1000e jour précédant l'ouverture des jeux.
Les fuwa sont au nombre de cinq : Bèibei (贝贝), Jīngjing (晶晶), Huānhuan (欢欢), Yíngying (迎迎) et Nīni (妮妮). En reprenant la première syllabe de chaque nom, on obtient une prononciation proche de « 北京欢迎你 - Běijīng huānyíng ni », c'est-à-dire « Bienvenue à Pékin ». Chacun des cinq fuwa représente une couleur olympique.

Slogan

Le 26 juin 2005, Le Comité Olympique de Pékin 2008 annonce que le slogan pour les Jeux olympiques de 2008 est « Un monde, un rêve » (anglais : One World, One Dream ; chinois : 同一个世界同一个梦想). Le slogan invite le monde entier à se joindre à l'esprit olympique et à construire un avenir meilleur pour l'humanité. Il a été choisi parmi plus de 210 000 propositions présentées dans le monde entier.

Musique

La chanson Beijing huanying ni (《北京欢迎你》, Běijīng huānyíng ni, « Pékin te souhaite la bienvenue »), est la chanson officielle d'accueil des J.O. Elle est interprétée par des célébrités du monde chinois, venues des quatre coins de la Chine. Une autre chanson autour du thème des Jeux olympiques a également été écrite, We Are Ready (Nous sommes prêts en anglais), pour rappeler que la Chine était prête à accueillir les Jeux olympiques.

วันศุกร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2551

7 ไอเดียหัดออมเงิน





พอใจสิ่งที่มีอยู่

ดอนแนะนำให้ใช้ความรู้สึกรักศักดิ์ศรี ภูมิใจในความเป็นตัวของตัวเอง เป็นนิสัยกับความรู้สึกที่สร้างภูมิคุ้มกันโรคฟุ่มเฟือยไม่ออมเงินได้อย่างน่าอัศจรรย์ และเป็นภูมิคุ้มกันที่จะช่วยผลักดันให้คุณมีวินัยเดินตามงบใช้จ่าย พร้อมกับออมเงินได้มากขึ้น และจ่ายน้อยลงอย่างไม่รู้ตัว
“ขอให้คิดถึงความจำเป็นและความเพียงพอ ตัวอย่างเช่น โซฟารับแขกหรือใช้นั่งที่คุณมีอยู่ดูแล้วคล้ายกับโซฟาทั่วไปไม่สวยหรู แต่ถ้าโซฟายังใช้ได้ดี โดยไม่จำเป็นต้องใช้บัตรเครดิตซื้อใหม่ หรือด้วยเหตุผลที่ไม่เข้าท่าเพียงหวังให้คนอื่นออกปากชม เพราะความเพียงพอหรือรู้สึกพอ จะช่วยให้คุณไม่อยากจ่าย หันมาออมเงินแทน” ดอนให้คำแนะนำ
ดอนย้ำว่าให้รู้สึกผ่อนคลายกับตัวเอง รักตัวเองในสิ่งที่มีอยู่และเป็นอยู่ ขอให้พยายามเตือนใจตัวเองเสมอ หากเกิดความอยากได้อยากมีว่า การซื้อสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ เกินความจำเป็น มีแต่จะก่อหนี้ ไม่ได้ช่วยคุณออมเงินได้เลย
สนุกออมจากงานอดิเรก
คนที่มีงานอดิเรก หรือกิจกรรมยามว่าง ไม่ว่าจะเป็นการถ่ายรูป การเย็บปักถักร้อย การเขียนหรืองานเกี่ยวกับการซ่อมบำรุงรถยนต์ ดอนแนะนำว่าขอให้ใช้ความชื่นชอบส่วนตัวให้เป็นประโยชน์ แม้ว่าความชอบต้องใช้เวลาและพัฒนาการในการฝึกฝนก็ตาม
แต่ความพยายามบวกความมุ่งมั่นตั้งใจ ได้ทำในสิ่งที่ตัวเองชอบเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว จะช่วยคุณได้ไม่ช้าก็เร็ว ให้สามารถใช้พรสวรรค์กับความชอบในงานอดิเรก เป็นทางเลือกทำรายได้เข้ากระเป๋าเป็นเงินออม นอกเหนือจากรายได้จากงานประจำที่ทำอยู่ ก็เป็นได้ในอนาคต
ช่วยเหลือผู้ลำบากกว่า
ลองใช้เวลาว่างเป็นอาสาสมัครช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสกว่าตัวเอง เป็นอีกความคิดหนึ่ง ที่ดอนเชื่อว่าจะช่วยให้คุณรู้จักการใช้ชีวิตแบบพอเพียง และไม่ประมาทที่จะเก็บหอมรอมริบไว้ยามแก่เฒ่า
การช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยาก และช่วยคนอื่นที่ไม่มีโอกาสได้รับความสุขสบายอย่างที่คุณได้รับ ยังช่วยกระตุ้นให้จิตใจของคุณซึ่งเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือ ไม่คิดฟุ้งเฟ้ออวดร่ำอวดรวยในสังคม
การช่วยเหลือผู้อื่นนั้น ดอนย้ำว่าไม่จำเป็นต้องทำอะไรมากมายให้ยุ่งยาก หรือเสียเงินมากมายเกินสถานะตัวเอง เพียงร่วมกับคนอื่นๆ ให้ทุนสร้างที่พักพิง หรือทำอาหารดีต่อสุขภาพแจกจ่ายให้ผู้อดอยากไม่มีจะกิน ง่ายเท่านี้จะค่อยบ่มเพาะความคิด ให้ตัวเองรู้จักอดออม เพียงพอและแบ่งปัน
รู้จักบอกปัดบ้าง
ไอเดียนี้ดอนอยากให้ปรับนิสัยความเป็นคนตรงให้ยืดหยุ่นไปตามสถานการณ์ทางการเงิน หรือเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนกับความเป็นอยู่พอเพียงของตัวเองบ้าง เพราะทุกคนมีสิทธิส่วนตัวที่จะเปลี่ยนแผนหรือเปลี่ยนใจไม่ทำอะไรก็ได้
ดอนแนะนำว่าหากคุณเคยมีพันธะ ช่วยเหลือให้ทุนอุดหนุนกิจกรรมใดที่เป็นการกุศลมาก่อน แต่เมื่อการช่วยเหลือนั้นๆ ไม่ทำให้สภาพคล่องทางการเงินของคุณดีขึ้น หรือไม่ยืดหยุ่นพอที่จะเก็บหอมรอมริบได้บ้าง ขอให้ยอมรับสภาพของตัวเอง ที่ไม่สามารถแบ่งปันหรือให้ความช่วยเหลือการเงิน แก่องค์กรการกุศลหรือผู้ลำบากกว่าในทันที
ลดทำกิจกรรมสิ้นเปลือง
เลี่ยงหรือลดที่จะเข้าสังคมทำกิจกรรมมากเกินไป จนทำให้ตัวเองกับครอบครัวยุ่งอยู่กับกิจกรรมล้นมือทั้งวัน ทำตัวกับจิตใจให้ว่างเปล่าและพักผ่อนเสียบ้าง ปล่อยให้รถจอดอยู่กับที่ ปิดทีวีกับหยุดนั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์ท่องอินเทอร์เน็ตเสียบ้าง เพียงลดกิจกรรมสิ้นเปลืองพลังงานเหล่านี้ จะช่วยคุณออมหรือประหยัดเงินได้ไม่มากก็น้อย
ดอนกลับสนับสนุนให้ทุกคนในครอบครัว ได้พบปะพูดคุยรับประทานอาหารร่วมกัน หรือว่างๆเล่นเกมหรือกิจกรรมภายในครอบครัวสนุกด้วยกัน ควรกำหนดตารางเวลาให้หมดไปกับธุระนอกบ้านเพียง 1หรือ 2 วันก็พอ เพื่อลดความสับสนวุ่นวายอยู่กับงานและสังคมนอกบ้านช่วงวันทำงาน
ฝึกใช้เหตุผลก่อนช้อป
ดอนแนะนำนักช้อป หากต้องการเปลี่ยนนิสัยให้เป็นคนออมอย่างง่ายๆ สามารถทำได้ด้วยการเตรียมจิตใจตัวเองให้พร้อม ก่อนเดินเข้าไปในศูนย์การค้า คิดให้ดีก่อนว่าจะซื้ออะไรและเพื่ออะไรบ้าง
หรือเมื่อคุณโชคดีได้เงินก้อนใหญ่ไปบริหาร ขอให้จินตนาการไว้ล่วงหน้า และคิดถึงเหตุกับผลก่อนว่าคุณจะรับผิดชอบจัดการกับเงินที่มีอยู่ ภายใต้สถานการณ์ข้างหน้าที่มีแต่ความไม่แน่นอนอย่างไร และตัดสินใจใช้หรือบริหารเงินให้ดีได้อย่างไร

มีใจเอื้อเฟือเผื่อแผ่
ไอเดียสุดท้ายนี้ดอนเชื่อว่าไม่ยาก เพราะการเอื้อเฟ้อเผื่อแผ่เป็นนิสัยฝังเข้าไปในสายเลือดของคนไทยอยู่แล้ว ดอนเชื่อว่าการใช้แรงกายเข้าช่วยเหลือผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ นอกจากจะช่วยประหยัดทุนทรัพย์ของผู้ช่วยแล้ว ยังเป็นการปฏิบัติที่ดี และดีกว่าการให้ของขวัญหรูราคาแพงเสียอีก
ดอนยกตัวอย่างง่ายๆ และเป็นข้อเท็จจริงที่ว่า ผู้คนได้รับความช่วยเหลือในยามรถยนต์ของพวกเขามีปัญหา ถ้าคุณเป็นมีผู้ใจดีมีน้ำใจ มีความรู้ในการซ่อมแซมรถเข้ามาช่วย ย่อมทำให้ผู้รับความช่วยเหลือมีความสุขไม่ต้องสิ้นเปลืองหรือเสียเวลาเข้าอู่ซ่อม
การทาสีบ้านที่ใช้ทักษะง่ายๆ หากคุณทำได้จะช่วยเพื่อนบ้านรู้สึกดีกับคุณ เป็นการช่วยพวกเขาประหยัดรายจ่ายจ้างช่างทาสีไปได้ส่วนหนึ่ง ขณะเดียวกันเมื่อเพื่อนบ้านมีน้ำใจช่วยดูแลลูกๆ ของคุณ ในช่วงเวลาสั้นเพียง 1-2 ชั่วโมง ถือเป็นการช่วยเหลือต่างตอบแทนช่วยคุณประหยัดเงินค่าจ้างพี่เลี้ยงหรือค่าบริการรับดูแลเด็กเล็กได้

วันเสาร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ระเบิดเวลาเรื่องเขาพระวิหาร
โดย : วารสาร เมืองโบราณ MuangBoran Journal ศรีศักร วัลลิโภดม


ทุกวันนี้ ตามเขตชายแดน โดยเฉพาะระหว่างประเทศไทยกับประเทศกัมพูชาบนเทือกเขาพนมดงเร็ก มีกับระเบิดที่ยังไม่ได้กู้อยู่อีกมาก พร้อมกับระเบิดเวลา ที่จะทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้นได้เสมอ โดยเฉพาะเมื่อใดที่มีปัญหาเกี่ยวกับผลประโยชน์ทางการเมืองและเศรษฐกิจ ระเบิดเวลานี้ ตั้งขึ้นโดยมหาอำนาจนักล่าอาณานิคมที่เข้ามาเป็นใหญ่ในอินโดจีน ที่นอกจากทำลายประเพณีการแบ่งดินแดนระหว่างแคว้นหรือระหว่างรัฐอันเป็นที่ยอมรับร่วมกัน มาเป็นการขีดเส้นเขตแดน (border) อย่างชนิดแยกสีอะไรเป็นสีของใครแล้ว ยังสร้างความรู้ชุดใหม่ทางการเมืองการปกครองมาสนับสนุนอธิบายความชอบธรรมของการมีเขตแดน และการมีความเป็นชาติที่แตกต่างไปจากเดิมด้วย นั่นคือ แต่ก่อนๆ บรรดาบ้านเมืองที่อยู่ร่วมกันในภูมิภาคพื้นแผ่นดินของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้ แม้ว่าจะรู้ความแตกต่างระหว่างกันในด้านแว่นแคว้น ขอบเขตอำนาจทางการเมือง และความแตกต่างระหว่างผู้คนทางชาติพันธุ์ก็ตาม ก็หาได้เป็นเรื่องใหญ่โตชนิดคอขาดบาดตายในเรื่องเขตแดนและความแตกต่างของชนชาติไม่ โดยเฉพาะบริเวณชายเขตและชายขอบ ที่มักกำหนดแบ่งดินแดนด้วยสิ่งที่เป็นสัญลักษณ์ (symbol) ไม่ใช่สิ่งที่เป็นเครื่องหมาย (sign) ที่เป็นรูปธรรม เช่น เส้นแบ่งเขตแดน (border) การแบ่งดินแดนที่เป็นการปกครองของแว่นแคว้นหรือรัฐ หรืออาณาจักร (kingdom) ที่เป็นเรื่องของสัญลักษณ์ที่เป็นนามธรรมนั้น เห็นได้จากการกำหนดสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง อาจเป็นภูเขา ลักษณะภูมิประเทศที่มีความโดดเด่น ไม่ว่าจะเป็นต้นไม้ใหญ่ ป่า โค้งน้ำ ทุ่งกว้าง ที่ล้วนมีชื่อเฉพาะให้เป็นที่รับรู้ของผู้คนที่เดินทางผ่านไปมา แต่ที่สำคัญ ตำแหน่งที่กำหนดให้เป็นสัญลักษณ์นั้นมักสัมพันธ์กับอำนาจเหนือธรรมชาติ อันเป็นอำนาจศักดิ์สิทธิ์ที่มนุษย์หรือแม้แต่พระมหากษัตริย์ก็ยังทรงเกรงกลัว และทำการสักการะ สิ่งเหล่านี้เห็นได้จากการแยกดินแดนกัมพูชาที่เรียกว่าเขมรต่ำ ออกจากที่ราบสูงโคราช อันรู้จักกันในนามเขมรสูง คำว่า “เขมร” ในที่นี้หมายถึงชื่อของกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีความสัมพันธ์กันทางภาษา เช่นที่เรียกว่ามอญ เขมร และมาเลย์ เป็นต้น หาใช่เรื่องของคนที่อยู่ในดินแดนการปกครองของรัฐหรืออาณาจักรไม่ เทือกเขาพนมดงเร็กที่แยกดินแดนที่ราบสูงออกจากที่ราบต่ำนั้น นับเป็นเส้นแบ่งเขตแดนตามธรรมชาติมาแต่โบราณ ซึ่งผู้คนที่ผ่านขึ้นลงตามช่องเขาได้กำหนดสัญลักษณ์การแบ่งเขตด้วยตำแหน่งศักดิ์สิทธิ์อันเป็นที่สถิตของอำนาจเหนือธรรมชาติ ที่คนไทยคนลาวเรียกว่า “ผีต้นน้ำ” โดยจะมีการสร้างสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ให้ผู้คนได้ประกอบพิธีกรรมและสักการะ หลังการเปลี่ยนผ่านจากดินแดนหนึ่งไปยังอีกดินแดนหนึ่ง เหตุนี้ บนเทือกเขานี้จึงมีตำแหน่งที่เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของคนแต่ละยุคแต่ละสมัยสืบเนื่องกันเรื่อยมา เช่น ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ก็กำหนดจากบริเวณเพิงผา หน้าผา หน้าถ้ำ ที่ผู้คนแลเห็นโดดเด่น และมีพื้นที่พอให้มาชุมนุมทำพิธีกรรมร่วมกันได้ เหตุนี้จึงมีการเขียนภาพสัญลักษณ์ที่เป็นมงคล เช่น ภาพมือแดง ภาพคน สัตว์ และพืช ให้เห็นเป็นปรากฏการณ์ แต่นักวิชาการส่วนใหญ่กลับให้ความสำคัญแก่ภาพเหล่านี้ในฐานะที่เป็นงานศิลปะ โดยเน้นศึกษาไปในทางที่เกี่ยวกับศิลปะเป็นสำคัญ พอมาถึงสมัยประวัติศาสตร์ เช่น สมัยทวารวดี ลพบุรี และสมัยต่อๆ มา ก็มีการสร้างพระเจดีย์ รอยพระพุทธบาท ศาลเทพเจ้า และรูปเคารพขึ้น อย่างเช่นบนเทือกเขาพนมดงเร็ก ปรากฏมีปราสาทตามช่องเขาตอนผ่านสันปันน้ำหลายแห่ง เช่น ปราสาทพระวิหาร ปราสาทตาเมือนธม ปราสาทไบแบก และจารึกของกษัตริย์จิตรเสนที่บริเวณต้นน้ำลำปลายมาศและนางรอง เป็นต้น บรรดาอำนาจเหนือธรรมชาติ ที่ปัจจุบันเรียกว่า “ผีต้นน้ำ” นี้แหละ ที่คนโบราณเชื่อว่าเป็นเจ้าของที่ดินและธรรมชาติทุกสิ่งทุกแห่งจากต้นน้ำไปถึงปลายน้ำ และเป็นผู้ดูแลชีวิตของผู้คนที่อยู่ตามลุ่มน้ำนั้นๆ เขาพระวิหารคือผาเขาที่ยื่นล้ำเข้าไปเหนือพื้นที่ราบต่ำ แลเห็นโดดเด่นจนคนโบราณเชื่อว่าเป็นที่สถิตของผีต้นน้ำ ผู้คนสมัยต่อมาเชื่อว่าเป็นที่สถิตของเทพเจ้าผู้ดูแลผู้คนจากต้นน้ำถึงปลายน้ำในเขตที่ราบสูงโคราช ซึ่งพัฒนาขึ้นเป็นบ้านเป็นเมือง ที่กษัตริย์กัมพูชา เช่น พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ และสุริยวรมันที่ ๒ ต้องทรงกระทำการสักการะ จึงมีการสร้างปราสาทมาอย่างต่อเนื่อง การสร้างปราสาทหรือศาสนสถานใดๆ ก็ดี หาได้เป็นการแสดงเจตนารมณ์เพื่อแสดงอำนาจทางการเมืองเหนือผู้คนในดินแดนนั้นๆ ไม่ หากเป็นการสยบและให้เกียรติแก่อำนาจศักดิ์สิทธิ์ และการสร้างมิตรไมตรีกับผู้คนของดินแดนนั้นด้วย อาจนับเป็นกริยาบุญของบุคคลที่ปรารถนาเป็นจักรพรรดิราช อันเป็นเรื่องเฉพาะตนของพระมหากษัตริย์องค์นั้นๆ มากกว่า เพราะแท้จริงแล้ว บ้านเมืองและรัฐโบราณในภูมิภาคนี้ ไม่ว่าเขมร ไทย ลาว พม่า เวียดนาม บรรดารัฐใหญ่ๆ ที่เกิดขึ้นหาได้มีรัฐรวมศูนย์ (centralized state) ที่มีโครงสร้างเป็นราชอาณาจักรแบบจักรภพอังกฤษ หรือประเทศใหญ่ๆ ในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ ของยุโรปไม่ หากเป็นระบบมณฑล (mandala) ตามประเพณีการปกครองของอินเดีย คือเป็นเครือข่ายของรัฐใหญ่น้อยที่ให้ความสำคัญกับพระมหากษัตริย์พระองค์ใดพระองค์หนึ่งจากรัฐใดรัฐหนึ่ง ที่เป็นที่เคารพและยกย่องของกษัตริย์ทั้งหลายให้เป็นประมุข ซึ่งอาจเรียกว่า “จักรพรรดิราช” หรือ “ราชาธิราช” ก็ได้ ในความเป็นจริงแล้ว พระมหากษัตริย์ที่เป็นประมุขของมณฑลหรืออาณาจักรนั้น มักทรงเป็นผู้ทำทานบารมี หรืออำนาจทางพระคุณมากกว่าพระเดช และเป็นผู้มีความสัมพันธ์ทางเครือญาติจากการแต่งงาน (กินดอง) กับบรรดากษัตริย์ที่เป็นเจ้าแคว้นทั้งหลายในเครือข่ายของมณฑล ฉะนั้น การเข้ามาบูรณะหรือสร้างปราสาทเขาพระวิหารนั้น หาได้เป็นกิริยาของการแสดงอำนาจราชศักดิ์ในการปกครองของกัมพูชาเหนือที่ราบสูงโคราชไม่ โครงสร้างทางการเมืองและสังคมของแว่นแคว้นที่เป็นมณฑลเช่นนี้ คือสิ่งที่มหาอำนาจนักล่าดินแดนเจตนาที่จะไม่นำพา มิหนำซ้ำยังนำเอาโครงสร้างการเมืองการปกครองแบบจักรภพของยุโรปเข้ามามอมเมาและครอบงำเจ้านาย ขุนนาง ตลอดจนปัญญาชนไทย เขมร พม่า และอื่นๆ ให้หลงใหลในความทันสมัยทันโลก เท่ากับบิดเบือนความเป็นจริงทางประวัติศาสตร์วัฒนธรรม การเมืองการปกครองที่ผู้คนในภูมิภาคนี้สัมพันธ์กันอย่างไม่เคยมีเส้นแบ่งเขตแดน (border) และการเป็นชาติ (nation) แบบชาติไทย ชาติเขมร ชาติลาว ชาติพม่า ที่เกิดการขัดแย้งในทุกวันนี้ การเสียเขาพระวิหารอันเป็นของผู้คนในดินแดนเขมรสูง หรือที่ราบสูงโคราช ตั้งแต่สมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรีนั้น ก็คือการรู้ไม่เท่าทัน จนกระทั่งหลงตกอยู่ในหลุมพรางของชาติมหาอำนาจนี้ แถมยังกลายเป็นระเบิดเวลาให้ไทยต้องทะเลาะกับกัมพูชาอย่างไม่สิ้นสุดอีกด้วย วันนี้เลยต้องฉวยโอกาสมาเสนอข้อคิดเห็นที่อาจเป็นประโยชน์แก่คนที่เป็นปัญญาชนได้ขบคิดและทบทวน ดังนี้

เบื้องแรก มหาอำนาจถ่อยๆ ชาตินั้นในเวลานั้น เข้ามาทำการศึกษาความเป็นมาทางสังคมและวัฒนธรรมของผู้คนในภูมิภาคนี้ ทั้งด้านโบราณคดี (archaeological past) และด้านชาติพันธุ์วรรณา (ethnographical present) มาก่อนการแสดงอำนาจเข้าครอบงำและยึดครองดินแดน ทางไทยต้องการหลีกเลี่ยงการยึดครองด้วยการพัฒนาความรู้และความเจริญแบบอารยประเทศตามแบบตะวันตกให้เป็นที่ยอมรับ บุคคลชั้นนำของประเทศจึงคล้อยตามความรู้ ความคิดเห็น และเทคนิควิชาการตามตะวันตกเพื่อความทันสมัย (westernized) เลยทำให้เกิดวิชาประวัติศาสตร์โบราณคดีแบบประวัติศาสตร์ศิลปะ ที่มหาอำนาจชาตินั้นขุดหลุมดักไว้ ความรู้ทางประวัติศาสตร์โบราณคดีแบบประวัติศาสตร์ศิลปะนี่แหละ ที่ทำให้การสร้างประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองของกัมพูชา (หรือเขมร) กับสยาม (หรือไทย) เป็นการปกครองแบบรัฐรวมศูนย์ (centralized state) ตามแบบจักรภพอังกฤษ

หลุมพรางทางความคิดและทฤษฎีเช่นนี้ร้ายนัก ตรงที่ทำให้ผู้นำทางปัญญาของไทยยอมรับว่า การที่มีศาสนสถานวัตถุแบบศิลปะลพบุรีหรือศิลปะขอมในประเทศไทย คือหลักฐานสำคัญที่แสดงว่ากัมพูชาสมัยเมืองพระนครเคยปกครองดินแดนสยามตั้งแต่ที่ราบสูงโคราช มายังที่ราบลุ่มน้ำเจ้าพระยาและภาคกลางมาก่อน ซึ่งหมายความว่าบ้านเมืองไทยและคนไทยเคยเป็นขี้ข้าขอมมาก่อน เบื้องต่อมา หลังจากการยอมรับรู้ในเรื่องแนวคิดทฤษฎีต่างๆ แล้ว ก็มาถึงเรื่องเทคนิคที่มหาอำนาจชาตินั้นใช้เป็นระเบิดเวลาที่จะทำให้ชาติประเทศต่างๆ ในภูมิภาคต้องขัดแย้งกันอย่างสืบเนื่อง นั่นก็คือการกำหนดเส้นเขตแดนแบ่งเขต (border) อย่างเป็นรูปธรรม มีทั้งหลักเขต และการระบุเส้นรุ้ง เส้นแวงไว้ในแผนที่ ทำให้แผนที่กลายเป็นทั้งหลักฐานและเครื่องมือที่สำคัญเพื่อใช้ตกลง หรือยืนยันอ้างสิทธิ์ตามกฎหมายที่ฝรั่งเป็นผู้สร้างขึ้น เรื่องการกำหนดเขตแดนและทำแผนที่เช่นนี้ รัฐบาลไทยสมัย ร.๕ – ร.๖ ก็อยากจะเรียนรู้ให้เท่ากับพวกฝรั่ง เพราะมีการศึกษาอบรมสร้างผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญทางแผนที่ตามแบบฝรั่งกันอยู่ แต่ไม่ค่อยมีการออกไปปฏิบัติสร้างประสบการณ์และการริเริ่ม ผลที่ตามมาก็คือ อาจรู้เท่าฝรั่งได้ แต่ไม่ทัน เพราะในกรณีการกำหนดเขตแดนบนเทือกเขาพนมดงเร็ก โดยเฉพาะบริเวณเขาพระวิหารนั้น ฝรั่งที่เป็นเจ้าของประเทศกัมพูชาสมัยนั้นกำหนดให้ใช้สันปันน้ำ (watershed) เป็นเส้นแบ่งเขตแดนในปี ค.ศ. ๑๙๐๔ โดยขอให้ทางไทยส่งผู้แทนและเจ้าหน้าที่ไปร่วมสำรวจแบ่งเขตแดน ซึ่งก็นับว่าเป็นธรรมดี เพราะการใช้สันปันน้ำอันเป็นธรรมชาตินั้นเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ แต่ทางไทยเองกลับประมาทและหละหลวม ไม่ส่งผู้แทนและเจ้าหน้าที่ไปร่วมสำรวจ ทำแผนที่ ปล่อยให้ฝรั่งเจ้าของประเทศกัมพูชาดำเนินการแต่ฝ่ายเดียว ฝรั่งถ่อยโคตรโกงจึงกำหนดเอาบริเวณปราสาทพระวิหารเข้าไปอยู่ในประเทศกัมพูชา ทั้งๆ ที่ขัดความเป็นจริงทางธรรมชาติของสันปันน้ำ เพราะบริเวณปราสาทพระวิหารตั้งแต่ลาดเชิงเขาจนถึงส่วนยอดที่เรียกว่าเป้ยตาดีนั้นล้วนอยู่ในเขตประเทศไทย ถ้าไม่เชื่อ ก็ลองเอาน้ำราดลงบริเวณเป้ยตาดี แล้วดูว่าน้ำนั้นจะไหลลงที่ลุ่มต่ำประเทศเขมร หรือลงสู่ที่ราบสูงแอ่งโคราชของประเทศไทย เมื่อฝรั่งทำแผนที่เสร็จ ก็นำมาให้ทางฝ่ายไทยดูใน ค.ศ. ๑๙๐๗ ทางไทยก็ไม่คัดค้าน มิหนำซ้ำยังเซ็นรับรองความถูกต้องของแผนที่ชุดนี้เสียอีกด้วย แผนที่คือหลักฐานเอกสารทางกฎหมายที่ใช้ในการตัดสินคดีความ เมื่อทางไทยเซ็นรับรอง ก็เท่ากับยอมรับว่าเขาพระวิหารเป็นของกัมพูชาในการครอบครองของฝรั่งชาติดังกล่าวนั้นนั่นเอง แถมเมื่อมีการตัดสินคดีความในศาลโลก ทางฝรั่งยังได้อ้างภาพถ่ายครั้งที่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเสด็จไปร่วมถ่ายภาพกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายของตนบนเขาพระวิหาร โดยที่มีธงชาติของตนปักอยู่เบื้องหลัง เท่ากับเป็นการยอมรับโดยดุษณีย์อยู่แล้ว แม้ว่าตอนนั้น สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพจะทรงเป็นเพียงอดีตเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยไปแล้วก็ตาม แต่พระองค์ก็ยังทรงดำรงตำแหน่งนายกราชบัณฑิตยสภาอยู่ ซึ่งนับเป็นราชาในหมู่นักปราชญ์ราชบัณฑิตนั่นเอง เมื่อพูดถึงปราชญ์ในช่วงเวลาของคดีเขาพระวิหารในตอนนั้น ก็อยากจะขอเท้าความไปถึงความเห็นทางวิชาการของปราชญ์ทางประวัติศาสตร์โบราณคดีในครั้งนั้นว่า มีการแสดงความเห็นที่แตกต่างกันระหว่างปราชญ์สากลและปราชญ์ท้องถิ่น ปราชญ์สากลของสกุลดำรงราชานุภาพยอมรับว่าปราสาทพระวิหารสร้างโดยพระมหากษัตริย์ขอมกัมพูชาตามที่ปรากฏในศิลาจารึก แต่บอกว่าเป็นของสร้างเพื่อผู้คนในดินแดนที่ราบสูงโคราช เพราะปราสาทเขาพระวิหารหันหน้าลงฝั่งไทยมากกว่าหันไปทางเมืองพระนครในประเทศกัมพูชา แต่ปราชญ์ธรรมดาที่ให้ความสำคัญกับท้องถิ่นบอกว่า ในตำนานพื้นเมือง กษัตริย์ของคนท้องถิ่นเป็นผู้สร้างขึ้น และมีเจ้าพ่อเขาพระวิหารเป็นเจ้าของและเป็นผู้ดูแล แต่เผอิญตอนนั้นประวัติศาสตร์ท้องถิ่นไม่เป็นที่รู้จักหรือยอมรับ อีกทั้งถูกประณามว่าเชยและไร้สาระ เลยไม่มีผู้สนใจ ในขณะที่การเน้นและสนใจประวัติศาสตร์สากลแบบที่ฝรั่งสอนให้จำและให้เชื่อนั้น เป็นสิ่งที่นำพาไปสู่ประวัติศาสตร์รัฐ ประวัติศาสตร์ชาติ เลยทำให้ความเป็นประวัติศาสตร์ที่แท้จริง คือเรื่องของการเปลี่ยนแปลงทางสังคม การเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมกลายเป็นภาพนิ่ง คือหลงเชื่อไปว่าดินแดนเขาพระวิหารและภาคกลางของไทยเป็นดินแดนที่ขอมเคยมาปกครองอยู่จริงๆ จนกระทั่งเดี๋ยวนี้ ยังมีนักวิชาการชาตินิยมทางฝ่ายกัมพูชาอ้างบ่อยๆ จากการพบศิลปะขอมและจารึกขอม ว่าถ้าพบ ณ ที่ใด ก็ให้ถือว่าพื้นที่อันเป็นแหล่งที่มาของศิลปกรรมและจารึกนั้นเคยเป็นดินแดนของกัมพูชามาก่อน ถ้ามีปราชญ์แบบขอม go inter แบบนี้มากๆ และยังคงอยู่อีกนานละก็ ไม่ช้าคงมีคดีฟ้องกันในศาลโลกอีกว่า ดินแดนสยามซึ่งปัจจุบันเรียกว่าไทยแลนด์นั้น เคยเป็นของกษัตริย์วรมันแห่งกัมพูชาที่ย้อนหลังไปนับพันปี ส่วนผู้ที่เข้ามาทีหลังคือพวกโจรสยามที่ไม่มีสิทธิอันชอบธรรมแต่อย่างใด วิธีคิดแบบประวัติศาสตร์ชาติแบบรวมศูนย์และหยุดนิ่งเช่นนี้แหละ ที่กำลังพ่นพิษพ่นไฟอยู่ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ทุกวันนี้

Link : ปราสาทเขาพระวิหาร จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี