วันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ความหวังใหม่ วัคซีนป้องกันโรคมะเร็งช่วยลดผู้ป่วยมะเร็ง1 ใน 5
หากว่านักวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยเซาธ์ ออสเตรเลีย ทำการวิจัยได้สำเร็จจะสามารถช่วยป้องกันมนุษย์ จากโรคมะเร็งร้ายไว้ได้มาก
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จอห์น เฮย์บอลล์ กับคณะ กำลังศึกษาค้นคว้า สร้างวัคซีนเพื่อป้องกันโรคมะเร็งพวกที่เกิดจากไวรัส อย่างเช่น โรคเอดส์ โรคไวรัสตับอักเสบชนิด บี และโรคจากเชื้อไวรัสหูด ไวรัสนี้เป็นตัวการก่อให้ เกิดโรคมะเร็งถึงร้อยละ 20 "ถ้าหากเราสามารถป้องกันไม่ให้ติดเชื้อนี้ได้ ก็จะมีทางที่จะลดจำนวนผู้ป่วยโรคมะเร็งลงได้ถึง 1 ใน 5 นับเป็นความก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็ว"
หมอจอห์นกล่าวต่อไปว่า "เราหวังว่าจะพัฒนาเทคโนโลยีหลัก เพื่อก่อรูปของวัคซีนซึ่งไม่แต่เพียงเพื่อป้องกันเท่านั้น หากยังรักษาโรคเรื้อรังต่างๆ อันเกิดจากไวรัส หลังจากที่มันได้ยึดที่มั่นอยู่ในตัวคนได้ แล้วด้วย"

ปรับพฤติกรรม แก้โรคปวดหลัง(ข่าวสด)
"อาการปวดหลังมากกว่าร้อยละ 80 เกิดจากพฤติกรรมที่ต่อเนื่อง เช่น การนั่งทำงาน การยืนในลักษณะที่ไม่ถูกต้องเป็นระยะเวลานาน โรคปวดหลังไม่สามารถหายขาดได้ ต้องดูแลร่างกายสม่ำเสมอ" ดร.มนต์ทณัฐ โรจนาศรีรัตน์ ไคโรแพรคติกแพทย์ จากสมาคมการแพทย์ ไคโรแพรคติกแห่งประเทศไทย กล่าวในงาน "CHIROFIT" Helps People Get Back to Life งานเปิดบ้านหลังที่สอง "ไคโรฟิต ไคโรแพรคติก คลินิก แอท แบงค็อก เมดิเพล็กซ์ เอกมัย" ภายในงานเชิญผู้ผ่านประสบการณ์การรักษาจากไคโรฟิต ไคโรแพรคติก คลินิก ร่วมแบ่งปันประสบการณ์ ได้แก่ พล ตัณฑเสถียร และอุ้ย-สุทัศนีย์ คุณผลิน ที่เป็นตัวแทนกลุ่มหนุ่มสาวทำงาน คล่องแคล่วว่องไว มักเกิดอาการปวดหลังปวดคอ จากอิริยาบถต่างๆ ที่ผิดที่ผิดทาง ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้ ไม่รักษาอาการอาจมีความเสี่ยงที่จะก่อปัญหาเรื้อรังได้ อีก 2 คน ได้แก่ ปั๋ง-ประกาศิต โบสุวรรณ เกิดอาการปวดหลังจากการออกกำลังกายที่หักโหมเกินไป กับ ตุ้ม-ณิชยา ชัยวิสุทธ์ สาวเวิร์กกิ้งวูแมนที่ติดรองเท้าส้นสูงเป็นชีวิตจิตใจ ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุของอาการปวดหลังเรื้อรัง ทั้งสองเป็นกลุ่มผู้ที่เกิดอาการค่อนข้างรุนแรง และเข้ารับการรักษาตามโปรแกรมที่ออกแบบเฉพาะบุคคล มาร่วมเล่าประสบการณ์จากการรักษาพร้อมคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ในงานนี้จัดสัมมนาให้ความรู้ด้านสุขภาพเรื่อง "การรักษาอาการปวดหลังเรื้อรังโดยไม่ต้องผ่าตัด" จากนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข ที่ต้องการส่งเสริมการแพทย์ในเชิงป้องกัน รวมไปถึงการรณรงค์ให้ประชาชนรักษาสุขภาพในเชิงป้องกัน
พ.ญ.สุขจันทร์ พงษ์ประไพ รองนายกสมาคมแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูแห่งประเทศไทย และหัวหน้าแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลวิชัยยุทธ กล่าวถึงปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับการปวดหลังเรื้อรังและการรักษาว่า ในช่วงหนึ่งของชีวิตคนทุกคนมีโอกาสเกิดอาการปวดหลังได้ไม่มากก็น้อย จากสาเหตุต่างๆ รอบตัวที่เราอาจคาดไม่ถึงหรือมองข้ามไป มีรายงานการสำรวจในต่างประเทศว่า ร้อยละ 80 ของประชากร ประสบปัญหาการปวดหลัง โดยร้อยละ 70 มักจะหายจากอาการภายใน 3 สัปดาห์ ร้อยละ 80-90 มักจะหายภายใน 3 เดือน และมีผู้มีอาการปวดหลังประมาณร้อยละ 10-20 จะแปรเปลี่ยนไปเป็นภาวะ "การปวดหลังเรื้อรัง" สาเหตุของการปวดหลัง เกิดจากความผิดปกติของโครงสร้างกระดูกสันหลัง ความไม่สมดุลของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นรอบๆ ข้อต่อกระดูกสันหลัง และความผิดปกติของระบบประสาท ดังนั้น การรักษาอาการปวดหลังของสาเหตุดังกล่าวข้างต้น เมื่อวินิจฉัยได้แล้วก็รักษาอาการตามสาเหตุที่พบ แต่บ่อยครั้งผู้ที่มีอาการปวดหลังไม่สามารถวิเคราะห์หาสาเหตุได้ชัดเจน ต้องอาศัยการรักษาตามอาการ หลักการรักษา ได้แก่ การลดความเจ็บปวดโดยการใช้ยา การรักษาทางกายภาพบำบัด หรือทางเลือกอื่นๆ เช่น การฝังเข็ม การนวด และไคโรแพรคติก เป็นต้น จากนั้นต้องมีการรักษาแก้ไขความไม่สมดุลของกล้ามเนื้อ โดยลดความตึงของกล้ามเนื้อ เพิ่มความแข็งแรงและทนทาน และเพิ่มความฟิตของร่างกาย นอกจากนี้ต้องมีการแนะนำให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดอาการปวดหลัง ทั้งการนอน นั่ง ยืน เดิน รวมถึงการทำงานและการเล่นกีฬาที่เหมาะสม สำหรับการรักษาด้วยการผ่าตัด มีเพียงประมาณร้อยละ 3-5 ที่เลือกใช้วิธีนี้ ซึ่งจะต้องมีข้อบ่งชี้และตรวจได้อย่างชัดเจนว่า กระดูกสันหลังไม่มั่นคง เป็นเนื้องอก หรือมะเร็งบางชนิด ช่องกระดูกสันหลังตีบอย่างรุนแรง มีกล้ามเนื้ออ่อนแรงของขาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างเพิ่มมากขึ้นอย่างชัดเจน หรือการควบคุมระบบขับถ่ายผิดปกติ การปวดหลังเรื้อรังและการผ่าตัดทำให้ทุเลาปวดลงได้ แต่การป้องกันไม่ให้เกิดอาการปวดหลังนั้นเป็นสิ่งสำคัญ ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติตนอย่างถูกต้องเหมาะสม ตามที่แพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์แนะนำ ร้อยละ 80 ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติตัวของผู้ป่วย และร้อยละ 20 ขึ้นอยู่กับผู้รักษา ด้าน ดร.มนต์ทณัฐ โรจนาศรีรัตน์ ไคโรแพรคติกแพทย์ จากสมาคมการแพทย์ ไคโรแพรคติกแห่งประเทศไทย กล่าวถึงโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนว่า หมอนรองกระดูกเป็นหนึ่งในอวัยวะที่สำคัญที่สุดของร่างกาย ทำหน้าที่คล้ายถุงน้ำหุ้มกระดูกอ่อน ภาวะผิดปกติของหมอนรองกระดูกเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นพันธุกรรม อุบัติเหตุ โรคติดเชื้อต่างๆ ไปจนถึงการทำงานผิดปกติ หรือการรับน้ำหนักที่มากเกินไป
ทั้งสองสาเหตุนี้ถือเป็นสาเหตุสำคัญที่สืบเนื่องมาจากอิริยาบถที่ผิดสุขลักษณะและเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ทั้งจากการนั่ง ยืน ก้ม เงย เอียงตัวไปมา หรือแม้แต่การออกกำลังกาย เมื่อร่างกายของเราปราศจากการทำงานของหมอนรองกระดูกที่สมดุลแล้ว จะส่งผลเสียต่อการเคลื่อนไหวร่างกายในรูปแบบต่างๆ ทั้งการรับแรงกระแทก และการถ่ายเทสารอาหารสู่ข้อต่อต่างๆ จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ จนในที่สุดหมอนรองกระดูกจะเสื่อมสภาพและเคลื่อนไปจากตำแหน่งปกติ เราเรียกภาวะเช่นนี้ว่า "โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อน" "ภาวะหมอนรองกระดูกผิดปกติ" จะส่งผลต่อร่างกายในรูปแบบอื่นๆ อีกมาก เช่น การปวดหลังเฉียบพลัน การปวดลงขา เกิดอาการชาตามตัว กล้ามเนื้ออ่อนแรง รวมถึงการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ การรักษาความผิดปกติเช่นนี้ทำได้โดยการจัดโครงสร้าง กินยา ทำกายภาพบำบัด และการผ่าตัด แต่การแพทย์ในปัจจุบันนี้คิดค้นเทคนิคใหม่ๆ โดยไม่ต้องอาศัยการผ่าตัด คือใช้วิธีลดการกดทับของหมอนรองกระดูก หรือที่เรียกว่า Spinal Decompression Therapy (SDT) แทน วิธีนี้จะช่วยลดภาวะการรับน้ำหนักที่มากเกินไปของหมอนรองกระดูก และช่วยจัดเรียงแนวกระดูกสันหลัง และฟื้นฟูบริเวณหมอนรองกระดูกให้คืนสู่ภาวะสมดุลได้ ปิดท้ายที่ น.พ.อาลี เอส โมฮัมเมด แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอาการปวดจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา กล่าวถึง เทคโนโลยีการรักษาที่เรียกว่า Spinal Decompression Therapy (SDT) ว่า เป็นการรักษาแบบใหม่ด้วยระบบคอมพิวเตอร์สำหรับอาการปวดคอ ปวดหลังเรื้อรัง และอาการปวดร้าวลงขา การรักษาด้วยระบบนี้ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ ปราศจากความเสี่ยงจากการฉีดยา การใช้ยาสลบและการผ่าตัด เพราะออกแบบมาให้ลดแรงกดทับบนโครงสร้างที่อาจทำให้เกิดอาการปวดเรื้อรังบริเวณกระดูกสันหลังได้ บรรเทาอาการปวดที่เกิดจากหมอนรองกระดูกเคลื่อน หมอนรองกระดูกเสื่อม และอาการปวดร้าวลงขา เป็นเครื่องมือที่ช่วยปรับกระดูกสันหลัง ลดแรงกดทับที่หมอนรองกระดูก และเส้นประสาทไขสันหลัง ช่วยรักษาบริเวณหลังให้กลับสู่ภาวะสมดุลได้เองโดยธรรมชาติ SDT เป็นระบบที่ใช้เทคโนโลยีล่าสุดที่สามารถตั้งโปรแกรมในการดึง ขณะเดียวกันยังทำตามความโค้งธรรมชาติของกระดูกสันหลัง ผู้ป่วยส่วนมากพบว่าอาการปวดและอาการอื่นๆ บรรเทาลงและลดลงอย่างต่อเนื่องระหว่างการบำบัดรักษา
เทคนิคการอ่านหนังสือให้จำง่ายๆ
ดีครับ...น้องๆ วันนี้ พี่มีเทคนิคในการอ่านหนังสือยังงัยดีน่ะให้จำง่ายๆมาฝากน้องๆด้วยนะครับ(ขอบอกเลยว่าพี่เคยลองมาแล้วนะครับ แอบไปถามเพื่อนๆที่เค้าได้เกรดดีๆมาครับ ว่าเค้ามีเทคนิคอะไร)
อ่ะ...มาเริ่มกันเลยดีกว่าครับ ตามมาๆๆๆ
ข้อที่ 1. น้องๆต้องใส่ใจเรื่องรายละเอียดเล็กๆน้อยๆก่อนเลยล่ะ ดูซิ!!!ว่าวิชาไหนน่ะที่เราต้องสอบเป็นอันดับแรกๆ หยิบวิชานั้นขึ้นมาก่อนเลย เตรียมไว้นะค่ะ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือที่เกี่ยวกับวิชาที่จะสอบ ชีท เอกสารต่างๆ หรือแนวข้อสอบ(อันนี้สำคัญนะค่ะ หาให้เจอล่ะ) ค้นเลยๆ ทุกวิชานะค่ะ
ข้อที่ 2.แยกหมวดหมู่แต่ละวิชา ก่อน-หลัง แล้วหาที่วางไว้อย่างเป็นระเบียบด้วยล่ะ
ข้อที่ 3.เตรียม ดินสอ/ปากกา สมุด และปากกาเน้นข้อความไว้ด้วยนะ
ข้อที่ 5.เริ่มอ่านวิชาที่จะต้องสอบก่อนเป็นวิชาแรกเลยค่ะ ตรงนี้แหละสำคัญมาก น้องๆอย่าอ่านๆๆๆๆๆแล้วก็อ่านเพื่อให้จบ แบบผ่านๆนะค่ะ ต่อให้น้องๆอ่านสัก 10 รอบแล้วบอกคนอื่นๆว่า "ก็เค้าอ่านเป็นสิบๆรอบแล้วอ่ะ แต่ทำไมทำข้อสอบไม่ได้เลยน่ะ?" อ่ะๆๆๆ!!! อ่านสัก 100 รอบก็ไม่ช่วยอะไรหรอกเจ้าค่ะ อ่านแล้วต้องทำความเข้าใจไปด้วย ตรงไหนที่คิดว่าสำคัญๆ น้องๆก็เน้นตรงจุดนั้นไว้ อาจจะใช้วิธีการจดบันทึกไว้ หรือ เน้นข้อความด้วยปากกาสีต่างๆก็ได้ค่ะ เพื่อว่าจะได้กลับมาอ่านอีกครั้ง
ข้อที่ 6.นั้นงัยๆๆๆพี่บอกไปตะกี้เองนะค่ะว่าอย่าอ่านแบบผ่านๆ ดูสิ!!!น้องๆลองกลับไปอ่านข้อ 3 ใหม่สิค่ะ แล้วดูซิว่าที่ต่อจากข้อ 3 นะเป็นข้อที่เท่าไหร่ ข้อที่ 4หายไปๆๆๆๆ ส่วนน้องๆคนไหนสังเกตเห็นก่อนที่พี่เฉลย น้องก็ไม่มีปัญหาในเรื่องของการอ่านหนังสือแล้วละค่ะ เก่งมากๆเลย ส่วนน้องๆคนไหนที่ไม่ทันได้สังเกต ก็เอาจุดนี้เนี่ยแหละค่ะไปลองปรับใช้กับการอ่านหนังสือดูตามที่พี่บอกไว้ในข้อที่ 5 นะค่ะ
ข้อที่ 7.อ่ะ ต่อๆๆ การไม่ปล่อยให้ท้องว่างก็เป็นสิ่งสำคัญนะค่ะ ถ้าน้องๆอ่านๆๆๆหนังสืออย่างเดียวจนลืมทานข้าวแล้วละก็ นอกจากน้องๆจะอ่านหนังสือไม่รู้เรื่องแล้ว อาจจะทำให้ป่วย และทำให้เป็นโรคกระเพาะได้ด้วยนะจ๊ะ สำคัญเลย ต้องหาอะไรทานเมื่อท้องว่างด้วยน้า...อย่าทรมาณตัวเองละ
ข้อที่ 8.ในการอ่านหนังสือ น้องๆควรเลือกเวลาที่รู้สึกว่าสมองเราพร้อมจะทำงานด้วยนะจ๊ะ แล้วเมื่อน้องๆรู้สึกว่าเริ่มอ่านไม่ไหวแล้วล่ะ อ่านนานมากไปทำให้ปวดตา ปวดหัว ให้น้องๆพักก่อน อาจจะหาอย่างอื่นทำ เช่นพักสายตาโดยการหาเพลงเพราะๆฟัง(อ่ะๆๆๆเลือเพลงที่ฟังแล้วจรรโลงใจด้วยละ ถ้าฟังเพลงที่หนักไป อาจทำให้ยิ่งปวดหัวมากกว่าเดิม ไม่รู้ด้วยนะเจ้าค่ะ) จะดูทีวี เล่นเกม หรือกิจกรรมอื่นๆที่ทำแล้วผ่อนคลายก็หามาลองทำกันดูนะเจ้าค่ะ แต่ๆๆๆๆแล้วก็แต่...อย่าพักจนเพลินละ เมื่อถึงเวลาที่ร่างกายผ่อนคลายเพียงพอแล้วก็กลับเข้าสู่โหมดการอ่านหนังสือต่อเลยยย (เอาน่าๆทนเอาหน่อยนะเจ้าค่ะ สอบไม่ได้มีมาบ่อยๆ ตั้งใจให้สุดๆไปเลย)
ข้อที่ 9.นั้นแน่ๆ พี่รู้นะว่าน้องๆเริ่มใส่ใจในรายละเอียดในการอ่านกันบ้างแล้ว คงคิดใช่มั้ยละ ว่าพี่จะแกล้งทำให้ข้อไหนหายไปอีกน่ะ!!! ดีแล้วค่ะถ้าน้องๆคิดแบบนี้นะ เป็นการฝึกตัวเองไปด้วย ให้เป็นคนรอบคอบ ดีค่ะๆ อ่ะต่อๆ
ข้อที่ 10.อ้า....อ่านไม่ทันแล้วอ่ะ!!!ทำไงดีๆ เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นกับเพื่อนๆคนอื่นๆเกือบทุกคนละค่ะ ที่สำคัญเลย อย่าตื่นเต้นจนรนล่ะ ตั้งสตินะค่ะตรงนี้สำคัญมากๆเลย ให้น้องๆหยุดอ่านหนังสือต่อสักพักนึง แล้วดูซิว่า...พรุ่งนี้เราสอบวิชาอะไรบ้าง แล้วหยิบวิชาที่สอบเป็นวิชาแรกมาอ่านทบทวนก่อนเลย แล้วก็ทบทวนวิชาอื่นๆต่อไป (ตรงถ้าคิดว่ากลัวอ่านไม่ทันรอบทบทวนให้น้องๆอ่านในส่วนที่เน้น ที่สำคัญๆเอาไว้ก่อนเลย จำได้มั้ยเอ๋ยว่าในการอ่านรอบแรกพี่ให้น้องๆจดบันทึกที่สำคัญๆไว้ที่คิดว่าน่าจะออก หรือส่วนที่มันยาก จำไม่ได้ก็นำมาอ่านก่อนเลย ตรงส่วนไหนที่น้องๆจำได้ หรือเข้าใจก็เปิดผ่านๆเลยค่ะ ตอนนี้เราต้องทำเวลาแหละน่ะ)
ข้อที่ 11.เอาละ...อ่านหนังสือสอบก็ต้องฟิสหน่อย น้องๆบางคนอาจจะอ่านหนังสือเร็วและเข้าใจง่ายทำให้การอ่านหนังสือไม่ค่อยมีปัญหาเลยก็ดีไป ส่วนน้องคนไหนเป็นคนที่อ่านหนังสือช้าก็ต้องขยันกว่าคนอื่นๆหน่อยแล้ว อาจจะทำให้อ่านหนังสือไม่ทัน ทำให้ต้องนอนดึกหน่อย ก็อย่าลืมดูแลตัวเองนะค่ะ หานมอุ่นๆหรือของว่างทานสักนิดนึง ใส่ใจในสุขภาพหน่อยนะค่ะ เพราะเดี๋ยวน้องๆอาจป่วยได้ แล้วเป็นงัยน่ะ ไปสอบไม่ได้ แย่เลยน่ะเจ้าค่ะ สำคัญเลย ถ้าอ่านหนังสือไม่ทันแล้วจริงๆ แต่ร่างกายเราไม่ไหวแล้ว อย่าฝืนนะค่ะ ได้แค่ไหนก็เอาแค่นั้น รีบเตรียมตัวเข้านอนกันดีกว่าค่ะ ตื่นเช้ามาจะได้สดชื่น แถมถ้าเราตื่นเร็ว ก็จะมีเวลาอีกนิดในการทบทวนก่อนเข้าห้องสอบนะค่ะน้องๆ